เมนู

ประการนี้ แม้ไม่มีคนอื่นชักชวน ท่านก็เรียกว่ามนุษยธรรม เพราะ
เป็นธรรมที่มนุษย์ ผู้เกิดความสังเวช มาทานด้วยตนเองในท้าย
แห่งสันถันตรกัปป์ (กัปป์ที่ฆ่าฟันกันด้วยศาตราวุธ). แต่ฌานและ
วิปัสสนา มรรคและผล พึงทราบว่า ยิ่งไปกว่ามนุษยธรรมนั้น.
บทว่า อลมริยญาณทสสฺนวิเสสํ ความว่า คุณวิเสสกล่าวคือ
ญาณทัสสนะ อันควรแก่พระอริยะทั้งหลาย หรือที่สามารถทำให้
เป็นอริยะ. จริงอยู่ ญาณนั่นแล พึงทราบว่า ญาณเพราะอรรถว่า
รู้ ว่าทัสสนะ เพราะอรรถว่า เห็น. คำว่าอลมริยญาณทสฺสนวิเสสํ
นี้เป็นชื่อของทิพพจักขุญาณ วิปัสสนาญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
และปัจจเวกขณญาณ.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อจฺโฉ แปลว่า ไม่มีมลทิน. บาลีว่า ปสนฺโน (ใส)
ดังนี้ก็ควร. บทว่า วิปฺปสนฺโน แปลว่าใสดี. บทว่า อนาวิโล แปลว่า
ไม่ขุ่นมัว อธิบายว่า บริสุทธิ์. ท่านอธิบายไว้ว่า เว้นจากฟองน้ำ
สาหร่าย และจอกแหน. บทว่า อนาวิเลน ได้แก่ ปราศจากนิวรณ์ 5.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในสูตรที่ 4 นั่นแล. ในสูตรทั้ง 2 นี้
ท่านกล่าวทั้งวัฏฏะ ทั้งวิวัฏฏะนั่นแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 6


อรรถกถาสูตรที่ 7



ในสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า รุกฺขชาตานํ เป็นฉัฏฐีวิภัติ ใช้ในอรรถ ปฐมาวิภัติ
อธิบายว่า รุกฺขชาตานิ ต้นไม้ทั้งหลาย. บทว่า รุกฺขชาตานิ นี้เป็น
ชื่อของต้นไม้ทั้งหลาย. บทว่า ยทิทํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า มุทุตาย
ได้แก่ เพราะเป็นไม้อ่อน. ทรงสั่งว่าต้นไม้บางชนิด เลิศแม้ด้วยสี
บางชนิดเลิศด้วยกลิ่น บางชนิดเลิศด้วยรส บางชนิดเลิศด้วยเป็น
ของแข็ง. ส่วนไม้จันทน์ เป็นเลิศคือประเสริฐ เพราะเป็นไม้อ่อน
และเหมาะแก่การงาน.
ในคำว่า จิตฺตํ ภิกฺขเว ภาวิตํ พหุลีกตํ นี้ท่านประสงค์เอาจิต
ที่อบรมและกระทำบ่อย ๆ ด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา. ส่วน
ท่านกุรุนทกวาสีปุสสมิตตเถระกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ จิตในจุตตถฌาน
อันเป็นบาทของอภิญญาเท่านั้น ชื่อว่า จิตอ่อนโยนและเหมาะแก่
การงานโดยส่วนเดียว.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอวํ ลหุปริวตฺตํ ความว่า เกิดเร็วดับเร็วด้วยอาการ
อย่างนี้ ศัพท์ว่า ยาวญฺจ เป็นนิบาตใช้ในอรรถเท่ากับอธิมัตตะ มี